ในปัจจุบันธุรกิจต่าง
ต้องแข่งขันกันในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาคุณภาพ
การสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า การเพิ่มผลผลิตและการลดต้นทุน ซึ่งหากองค์กรต่างๆไม่มีความรู้ความเข้าใจในการเลือกอุปกรณ์
เครื่องมือที่จะนำมาใช้เพื่อพัฒนาแล้วก็อาจจะนำมาซึ่งจุดจบของธุรกิจเลยก็เป็นได้ดังนั้นจึงมีหลายท่านอาจมีคำถามเกิดขึ้นในใจว่าแล้วเครื่องมืออะไรที่เหมาะสมและควรนำมาใช้
Six Sigma เป็นคำตอบสำหรับองค์กรแห่งการเรียนรู้และสามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วหากมีการนำไปปฎิบัติอย่างทั่วถึงทั้งองค์กร
Six sigma เป็นเครื่องมือในการบริหารโดยมีเป้าหมายที่จะปรับปรุงกระบวนงานเพื่อลดความผิดพลาด
ลดความสูญเปล่า และลดการแก้ไขตัวชิ้นงาน พัฒนาประสิทธิภาพในการผลิต
เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้านำไปสู่การเพิ่มรายได้ขององค์กร นอกจากนั้นยังมุ่งเน้นในการสอนให้พนักงานรู้แนวทางในการทำธุรกิจอย่างเป็นระบบและมีหลักการ
โดยชื่อของ Six Sigma นั้นได้มาจากแนวความคิดที่ว่าโอกาสที่เกิดของเสียขึ้น
3.4 ครั้งต่อการผลิตหรือการปฏิบัติงาน 1 ล้าน สะท้อนให้เห็นว่าของเสียที่เกิดขึ้นจะน้อยมากๆ และ Six sigma จะดีที่สุดเมื่อทุกคนในองค์การร่วมมือกันตั้งแต่ CEO ไปจนถึงบุคลากรทั่วไปในองค์การ ซึ่งเป็นการรวมกันระหว่างอานุภาพแห่งคน (Power
of people) และอานุภาพแห่งกระบวนการ (Process Power) ซึ่งถ้าตัว Six sigma มีค่าสูงหรือมีความผันแปรมากขึ้นเท่าไร
ก็เปรียบเสมือนมีการทำข้อผิดพลาดมากขึ้นนั่นเอง
หลักการสำคัญของกลยุทธ์ Six Sigma คือกระบวนการหรือวิธีการปฏิบัติงานที่มีผลโดยตรงต่อความต้องการของลูกค้าและมาตรฐานซึ่งมีอยู่
5 ขั้นตอน (DMAIC)
1.
Define คือ
ขั้นตอนของการนิยามหรือกำหนดปัญหา เลือกโครงการที่จะทำการปรับปรุงหรือออกแบบ ทั้งนี้ต้องเน้นการหาความต้องการหรือความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหลัก
เพื่อให้โครงการที่เลือกทำนั้น คุ้มค่า ตรงประเด็น ไม่เสียเวลาเปล่า
2. Measure คือ ขั้นตอนการวัด เช่น วัดความสามารถของกระบวนการวัดของเสีย
วัดประสิทธิผล ฯลฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์ตัวแปรต่างๆ
3. Analyze คือ ขั้นตอนวิเคราะห์ (จากข้อมูลที่วัดมาได้)
เพื่อหาหรือพิสูจน์ตัวแปรที่สำคัญที่สุดในกระบวนการ (Key
Process Variables) ที่เป็นต้นตอสาเหตุของปัญหาที่นิยมไว้ เช่น
การทำไม่ได้ตามข้อกำหนดของลูกค้าหรือเป้าหมายการออกแบบที่กำหนด ฯลฯ
ในขั้นตอนนี้ถือว่าสำคัญมากเพราะถ้าหาตัวแปรไม่เจอหรือหาผิดก็อาจจะปรับปรุงผิดที่หรือปัญหาก็จะได้รับการแก้ที่ไม่ตรงจุดได้
4. Improve คือ ขั้นตอนการปรับปรุง
หลังจากที่เราได้ตัวแปรที่มีผลต่อกระบวนการแล้วเราก็ทำการลงมือแก้ปัญหา
เพื่อขจัดสาเหตุที่วิเคราะห์ได้หรือในการออกแบบขั้นนี้จะเป็นการออกแบบกระบวนการเพื่อขจัดหรือควบคุมตัวแปรที่วิเคระห์ได้
5. Control คือขั้นตอนของการควบคุมเพื่อให้กระบวนการนั้นนิ่ง
หมายถึงอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างสม่ำเสมอ
ในการประยุกต์ DMAIC มาใช้ในการดำเนินการปรับปรุงกระบวนการงานให้มีคุณภาพนั้นจำเป็นที่จะต้องเลือกเครื่องมือที่ถูกต้องและเหมาะสม
จากตารางด้านล่างคือข้อมูลที่แสดงเครื่องมือที่ได้รับความนิยมที่ถูกเลือกนำมาใช้ในแต่ละขั้นตอนดังนี้
กระบวนการ
|
เครื่องมือต่างๆ ที่นิยมนำมาใช้
|
Define (นิยาม/กำหนด)
|
New 7 Tools, Quality
Function Deployment(QFD), Process Flowchart, Process Mapping, Risk Analysis,
VA/VE, ผังพาเรโต, Brainstorming, Benchmarking, ต้นทุนคุณภาพ
|
Measure
(การวัด)
|
ผังควบคุม
(Control Chart), ผังพาเรโต้, Run Charts, Process Mapping,
Gage R&R
Check
Sheets, Box Plots, ดัชนีวัดผลงาน, (KPI,
Balanceed Scorcard )
|
Analyze
( วิเคราะห์ )
|
การวิเคราะห์ระบบการวัด (MSA), การออกแบบการทดลอง(DOE), Evolutionary operations (EVOP), การวิเคราะห์ความล้มเหลวและผลกระทบ(FMEA)
New
7 tools, วิศวกรรม/การวิเคราะห์คุณค่า, ฝังเหตุและผล
(Cause& Effect Diagrams)
แผนภูมิต้นไม้, วิเคราะห์จุดที่ติดขัด ( Theory of Constrain),การวิเคราะห์ความสำคัญ Correlation analysis,การจำลองกระบวนการ(Process
simulation), ANOVA การทดสอบสมมติฐาน
|
Improve
(ปรับปรุง)
|
การวิเคราะห์ความล้มเหลวและผลกระทบ
( FMEA), New 7Tools, การออกแบบการทดลอง
(DOE),Evolution operations (EVOP),การจำลองกระบวนการ(
Process simulation
การป้องกันข้อผิดพลาด(Mistake
proofing, Poka-Yoke ,Fool proof )
|
Control
( ควบคุม )
|
การป้องกันข้อผิดพลาด(Mistakeproofing, Poka-Yoke, Fool
proof ), ผังควบคุมกระบวนการ ( Control Charts), การควบคุมกระบวนการด้วบกลวิธีทางสถิติ (SPC)
การวิเคราะห์ความสามารถ
|
เครื่องมือแต่ละอย่างที่นำมาใช้ในแต่ละขั้นตอนของ
DMAIC ตามที่สรุปในตารางข้างต้น จะมีความจำเป็นแตกต่างกันไปในแต่ละองค์กร
และอาจจะอยู่ในขั้นตอนไหนก็ได้ แต่ไม่จำเป็นต้องนำไปใช้ทั้งหมด
และในแต่ละโครงการก็ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่เหมือนกัน
แต่ละเครื่องมือก็มีความยากง่ายแตกต่างกัน
ขั้นตอนในการดำเนินงานปรับปรุงกระบวนการตามวิธีการ Six Sigma มีดังนี้
ผู้บริหารสูงสุด CEOรับทราบถึงความไม่พอใจของลูกค้าที่มีต่อสินค้าหรือบริการของบริษัทจึงแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูง
เพื่อดูแลแก้ไขปัญหาโดยในลำดับแรกผู้บริหารระดับสูงจะทำการ
1.
ระบุหรือค้นหาปัญหาที่เกิด (Define) แล้วแยกแยะปัญหาที่เกิดขึ้นออกเป็นโครงการต่างๆ
เลือกโครงการที่มีผลกระทบสูงมาปรับปรุงก่อน
นำโครงการที่เลือกแล้วมาทำเป็นแผนผังกระบวนการ
เพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงของขั้นตอนเพื่อให้เห็นจุดที่เกิดความผิดพลาดได้ชัดขึ้น
จากตอนนี้จะทำให้สามารถทำการคัดเลือกทีมงานที่จะมาทำงานได้ โดยเริ่มจากการกำหนดขอบเขตของปัญหา แล้วจึงค้นหาลูกค้าและความต้องการของลูกค้า
แล้วค่อยจัดทำผัง CTQ เขียนProcess Map กำหนดขอบเขตของโครงการ แล้วปรับปรุง Project –Charter จากนั้น Black Belt หรือ project manager ต้องทำการ
2.
วัดประเมินค่า (Measure) ของปัญหาที่เกิดขึ้นโดยตรวจสอบระบบการวัดและการเก็บข้อมูล
โดยเริ่มจาก ค้นหาความผันแปรของกระบวนการ-กำหนดตัวชีวัดของกระบวนการ-กำหนดชนิดของข้อมูล ที่จะเก็บ-กำหนดวิธีการเก็บตัวอย่าง-ทำการวิเคราะห์ระบบการวัดผล -วิเคราะห์ขีดความสามารถของกระบวนการแล้วจึงค่อยประเมินสภาพปัญหาปัจจุบันของปัญหาจากข้อมูลที่วัดได้
แล้ววางแนวทางการดำเนินงาน โดยประเมินตัวเลขเป้าหมายที่ต้องการปรับปรุง
รวมถึงระยะเวลาในการทำงาน แล้วรายงานให้ ผู้บริหารระดับสูง รับรู้
เพื่อขออนุมัติดำเนินการต่อไป
3.
จากนั้น Black
Belt หรือ project managerจะนำข้อมูลที่วัดได้
มาวิเคราะห์(Analyze) เพื่อหาปัจจัยที่แท้จริงของความผิดพลาด โดยใช้เทคนิคด้านสถิติ โดยการ วิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์กระบวนการ วิเคราะห์หาต้นตอของความผันแปร
ประยุกต์ใช้ Graphical Analysis Tools ประยุกต์ใช้ Statistical
Analytical Tools สรุปรากเหง้าของปัญหา
และนำข้อมูลจาการวิเคราะห์ที่ได้ เสนอให้ ผู้บริหารระดับสูงพิจารณา
4.
จากนั้นเข้าสู่ขั้นตอน Improve
หรือ ปรับปรุงแก้ไข
ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเป็นขั้นตอน โดยการตั้งสมมติฐานถึงวิธีการแก้ไขปัญหาโดย ค้นหาทางเลือกที่เป็นไปได้ คัดเลือกทางเลือก ทดลองเพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุด
,สร้าง "Should be" Process Map, ปรับปรุงกระบวนการโดยใช้
FMEAมาวิเคราะห์ความ
คุ้มค่า/คุ้มทุน จนถึงขั้นออกแบบแผนการปรับปรุง
โดยอาจต้องปรับปรุงกระบวนการขึ้นใหม่ ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น
และเพิ่มขั้นตอนที่จำเป็น ที่สำคัญคือต้องขจัดปัญหาที่แท้จริงของการผิดพลาดให้ได้
5.
เมื่อสามารถปรับปรุงจนได้ผลตามเป้าหมายแล้ว
ก็ทำเป็นแบบแผนในการ ควบคุมและป้องกัน Control ไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านั้นขึ้นมาได้อีกโดยกำหนดกลยุทธ์ในการควบคุมผลหรือ
จัดทำแผน ควบคุมผล ,ปรับปรุงคู่มือปฏิบัติงาน,จัดทำแผนฝึกอบรม
เมื่อสามารถแก้ไขปัญหาโครงการเดิมได้แล้ว จึงค่อยก้าวไปแก้ไขปัญหาโครงการอื่นๆ
ต่อไป โดยกำหนดเป็นแผนที่ต่อเนื่องตลอดไป
ข้อดีของการใช้ Six Sigma
1.
กระบวนการ Six Sigma ทำให้เรารู้ความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า นำไปสู่การผลิตสินค้าและบริการได้มีประสิทธิภาพตรงตามความต้องการ
ลดปริมาณชิ้นงานที่เสียให้น้อยลง
ลดต้นทุนในการผลิตนำไปสู่การเพิ่มรายได้ให้กับองค์กร
2.
กระบวนการ Six Sigma จะต้องมีการวัดหรือประเมินเป็นตัวเลขที่ชัดเจน
สามารถตรวจสอบได้ จึงส่งผลให้สามารถประเมินความคุ้มค่าในการลงทุนออกมาเป็นตัวเลขได้ง่ายและช่วยให้การตัดสินใจของผู้บริหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3.
สามารถลดความสูญเสียโอกาสอย่างมีระบบและรวดเร็วโดยการนำกระบวนการทางสถิติมาใช้
4.
พัฒนาบุคลากรในองค์การให้มีศักยภาพสูงขึ้นตอบสนองต่อกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็วและปรับองค์การให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
(Learning Organization)
ข้อเสียของการใช้ Six Sigma
1)
ต้นทุนค่อนข้างสูงเหมาะสำหรับ Mass
Productions จำนวนร้อยล้านชิ้นขึ้นไปหรือไม่เหมาะสำหรับการผลิตที่น้อยชิ้น
2)
เครื่องมือวัดใช้ความละเอียดสูงซึ่งก็ส่งผลให้มีต้นทุนในการทำที่สูงด้วย
3)
อาจทำให้เกิดความวุ่นวายจากการต่อต้านหรือไม่ให้ความร่วมมือของพนักงานในการทำ
six sigma สาเหตุก็เพราะวิธีดังกล่าวเน้นความร่วมมือของทุกคนในองค์กรซึ่งโดยธรรมชาติมนุษย์มักจะต่อต้านหรือกลัวความเปลี่ยนแปลงทั้งๆที่การเปลี่ยนแปลงอาจจะนำพาไปสู่ความสิ่งที่ดีขึ้น
เพราะกลัวเสียผลประโยชน์หรือความมั่นคงในงานดังนั้น
ก็อาจจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดความวุ่นวายในการผลิตสินค้าหรือบริการก็เป็นได้
4)
ในบางครั้งหากผู้บริหารไม่มีความเข้าใจในกระบวนการอย่างแท้จริงก็อาจจะทำให้เสียเวลา
สิ้นเปลืองทรัพยากรและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายได้
Reference
Six
Sigma. Retrieved from. 202.143.129.18/kmchainat/research/1277780632_six%20sigma.doc
กาญจนา สร้อยระย้า.(2546). ชำแหละSix Sigma.กรุงเทพมหานคร:
สถาบันวิทยาการจัดการแห่งเอเชีย (AIMS).
จุดเด่นของ Six Sigma. Retrieved
from .http://www.ge.com/en/company/companyinfo/quality/whatis.htm
ข้อเสียของ Six Sigma. Retrieved from .www.eng.su.ac.th/ie/six%20sigma
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น